ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.2 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.1 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.1

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7





การบวกจำนวนเต็ม

1. ค่าสัมบูรณ์ (absolute value) ของจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง คือ ระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน


2. การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มบวกทั้งสองจำนวนมาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มบวก 


3. การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มลบทั้งสองจำนวนมาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มลบ 


4. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์ไม่เท่ากัน ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มชนิดเดียวกับจำนวนเต็มที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า


5. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสองนั้นมาลบกัน ซึ่งจะได้ผลบวกเป็นศูนย์ 


6. การบวกจำนวนเต็มสองจำนวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวบวก ผลบวกที่ได้ยังคงเท่าเดิม

ดังนั้น การบวกจำนวนเต็มมีสมบัติการสลับที่


7. การบวกจำนวนเต็มสามจำนวน แม้จะเปลี่ยนคู่ในการบวก แต่ผลบวกที่ได้ยังคงเท่าเดิม 

ดังนั้น การบวกจำนวนเต็มมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร

จำนวนเต็ม, การเขียนจำนวนเต็มและการเขียนเส้นจำนวน

 จำนวนเต็ม (integer)  มี 3 ชนิด

1. จำนวนเต็มบวก (positive integer) ได้แก่ 1, 2, 3, ...

    (จำนวนเต็มบวกมีชื่อเรียกอีกว่าจำนวนนับ (counting number) หรือจำนวนธรรมชาติ (natural number)

2. จำนวนเต็มศูนย์ (zero) ได้แก่ 0

3. จำนวนเต็มลบ (negative integer) ได้แก่ -1, -2, -3, ...


การเขียนจำนวนเต็ม

การเขียนจำนวนเต็มลบจะเขียนเครื่องหมาย - ไว้หน้าตัวเลข เช่น -1, -2, -10

แต่การเขียนจำนวนเต็มบวกไม่นิยมเขียนเครื่องหมาย + ไว้หน้าตัวเลข จะเขียนเฉพาะตัวเลขเลย เช่น 1, 2, 10

การเขียนจำนวนเต็มศูนย์จะเขียนเฉพาะตัวเลข 0


การเขียนเส้นจำนวน

การเขียนเส้นจำนวนจะเขียนหัวลูกศรทั้งสองข้างเพื่อแสดงว่ายังมีจำนวนอื่นๆ ที่มากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนที่เขียนแสดงไว้ 

บนเส้นจำนวน จำนวนที่อยู่ทางขวามือจะมากกว่าจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือเสมอ


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร