ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.6 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.6

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



สมบัติของหนึ่งและศูนย์

1. การคูณกันระหว่างจำนวนเต็มใดๆ กับ 1 จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนนั้น 
เช่น     10 x 1 = 10
            1 x 20 = 20

2. การบวกกันระหว่างจำนวนเต็มใดๆ กับ 0 จะได้ผลบวกเท่ากับจำนวนนั้น
เช่น     5 + 0 = 5
           0 + 9 = 9

3. การคูณกันระหว่างจำนวนเต็มใดๆ กับศูนย์ จะได้ผลคูณเท่ากับศูนย์ 
เช่น     0 x 7 = 0
           4 x 0 = 0

4. ถ้าผลคูณของจำนวนเต็มสองจำนวนใดเท่ากับศูนย์ จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งจำนวนต้องเป็นศูนย์ 

อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.5 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.5

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



การหารจำนวนเต็ม

1. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นจำนวนเต็มบวกทั้งคู่ ใช้วิธีเดียวกับการหารจำนวนนับด้วยจำนวนนับ ซึ่งได้ผลหารเป็นจำนวนเต็มบวก

2. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นจำนวนเต็มลบทั้งคู่ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มบวก

3. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหาร ตัวใดตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบ โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วตอบเป็นจำนวนเต็มลบ

อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร


ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.4 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.4

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



การคูณจำนวนเต็ม

1. การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้ผลคูณเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
เช่น 2 x 3 = 6

2. การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ จะได้ผลคูณเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
เช่น 2 x (-3) = -6

3. การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้ผลคูณเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
เช่น (-4) x 5 = -20

4. การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ จะได้ผลคูณเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
เช่น (-3) x (-4) = 12

5. การคูณกันระหว่างจำนวนเต็มสองจำนวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวคูณ ผลคูณที่ได้ยังคงเท่าเดิม 
ดังนั้น การคูณกันของจำนวนเต็มมีสมบัติการสลับที่
เช่น (-2) x 3 = -6
        3 x (-2) = -6

6. การคูณกันระหว่างจำนวนเต็มสามจำนวน แม้จะเปลี่ยนคู่ในการคูณแต่ผลคูณที่ได้ยังคงเท่าเดิม 
ดังนั้น การคูณกันของจำนวนเต็มมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ 
เช่น (10 x 2) x 5 = 100
        10 x (2 x 5) = 100

7. การคูณกันระหว่างจำนวนเต็มจำนวนหนึ่งกับจำนวนเต็มที่บวกกันอยู่คู่หนึ่ง มีผลลัพธ์เท่ากับผลบวกของผลคูณของจำนวนนั้นกับจำนวนเต็มแต่ละตัวของคู่ที่บวกกันอยู่ 
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างการคูณและการบวกจำนวนเต็มมีสมบัติการแจกแจง
เช่น 10(4 + 2) = 10(6) = 60
        (10 x 4) + (10 x 2) = 40 + 20 = 60

อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.3 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

 เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 1.3

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



การลบจำนวนเต็ม

1.  การลบกันระหว่างจำนวนเต็มสองจำนวน เมื่อสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวลบ ผลลับที่ได้ไม่เท่ากัน

ดังนั้น การลบกันของจำนวนเต็มไม่มีสมบัติการสลับที่ 


2. การลบกันระหว่างจำนวนเต็มสามจำนวน เมื่อเปลี่ยนคู่ในการลบ ผลลบที่ได้จะไม่เท่ากัน

ดังนั้น การลบกันของจำนวนเต็มไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร

จำนวนตรงข้าม (opposite number)

จำนวนตรงข้าม (opposite number) ของจำนวนเต็มจำนวนหนึ่งคือจำนวนเต็มอีกจำนวนหนึ่ง โดยที่จำนวนเต็มทั้งสองนี้อยู่ห่างจากศูนย์บนเส้นจำนวนเป็นระยะเท่ากัน 

ตัวอย่าง เช่น

1 คือจำนวนตรงข้ามกันกับ -1

คือจำนวนตรงข้ามกันกับ -8

-27 คือจำนวนตรงข้ามกันกับ 27


0 เป็นจำนวนตรงข้ามของ 0

จำนวนตรงข้ามของจำนวนเต็มมีเพียงจำนวนเดียวเท่านั้น


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร