ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.2 ก หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.2 ก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7






การคูณและการหารเลขยกกำลัง

1. สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง

ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่คูณกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลคูณที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเป็นผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวตั้งกับเลขชี้กำลังของตัวคูณ


เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

                            am x a = am + n


เช่น         52 x 5 = 52 + 7  =  59


2. สมบัติของการหารเลขยกกำลัง

ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่หารกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลหารที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเท่ากับเลขชี้กำลังของตัวตั้งลบด้วยเลขชี้กำลังของตัวหาร


เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

                            am ÷ a = am - n


เช่น         56 ÷  5 = 56 - 3  53


3. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

                           an  = a x a x a x a x ...x a

                                      ( a จำนวน n ตัว)                

4. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบ

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ n เป็นจำนวนเต็มบวก 
                           a-n  = 1 / an

5. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มศูนย์

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
                            a0  = 1




วีดีโอที่ยูทูป




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 


ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.1 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.1 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7




ตัวประกอบ

1. ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว

เช่น ตัวประกอบทั้งหมดของ 14 คือ 1, 2, 7 และ 14

       ตัวประกอบทั้งหมดของ 15 คือ 1, 3, 5 และ 15


2. จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เช่น  2, 3, 5, 7, 11 และ 13

แต่ 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบ เพียงตัวเดียว เท่านั้น คือ 1 นั่นเอง


3. ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ

เช่น     2 และ 7 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ  14

            3 และ 5 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ  15


4. การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ คือ การเขียนแสดงจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ 

เช่น      10 = 2 x 5

            100 = 2 x 2 x 5 x 5




วีดีโอที่ยูทูป



ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.1 ก หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.1 ก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7






เลขยกกำลัง

 บทนิยาม

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

เลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน (base) และ n เป็นเลขชี้กำลัง (exponent หรือ index)

เขียนแทนด้วย an  มีความหมายดังนี้ 

        an  = a x a x a x a x ...x a

                 ( a จำนวน n ตัว)                

อ่านว่า " a  ยกกำลัง n " หรือ "a กำลัง n" หรือ "กำลัง n ของ a"


2 = 2 x 2 x 2 

23     เป็นเลขยกกำลังที่มี 2 เป็นฐาน และมี 3 เป็นเลขชี้กำลัง 

23      อ่านว่า "สองยกกำลังสาม"

             หรือ "สองกำลังสาม"

             หรือ "กำลังสามของสอง"


(-2) = (-2) x (-2) x (-2) 

(-2)3      อ่านว่า "ลบสองทั้งหมดยกกำลังสาม"

             หรือ "ลบสองทั้งหมดกำลังสาม"

             หรือ "กำลังสามของลบสอง"


-2 = -(2 x 2 2 x 2)

-24      อ่านว่า "ลบของสองยกกำลังสี่"

             หรือ  "ลบของสองกำลังสี่"

             หรือ  "ลบของกำลังสี่ของสอง"


เมื่อมีจำนวนที่คูณตัวเองซ้ำกันหลาย ๆ ตัว เราสามารถใช้เลขยกกำลังเขียนแทนจำนวนเหล่านั้นได้ 

เช่น    5 x 5 x 5 x 5            เขียนแทนด้วย 54

          (-4) x (-4) x (-4)      เขียนแทนด้วย (-4)3

          (0.7) x (0.7)           เขียนแทนด้วย (0.7)2

          (1/3) x (1/3) x (1/3) เขียนแทนด้วย (1/3)3

          a x a x a x a x a     เขียนแทนด้วย a5


เมื่อต้องการทราบว่าเลขยกกำลังนั้นแทนจำนวนใด เราจะเขียนเลขยกกำลังนั้นให้อยู่ในรูปการคูณของจำนวนที่เป็นฐานแล้วหาผลคูณ 

ตัวอย่าง  จงหาว่า 53  แทนจำนวนใด?

                    5 = 5 x 5 x 5

                         = 125

ตอบ 125


เมื่อต้องการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขยกกำลัง ทำได้โดยใช้การแยกตัวประกอบหรือเขียนจำนวนนั้นให้อยู่ในรูปการคูณของจำนวนที่ซ้ำ ๆ กัน

ตัวอย่าง จงเขียน 16 ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังมากกว่า 1

        16 = 2 x 2 x 2 x 2

            =  24

หรือ 16 = 4 x 4 

            = 42

หรือ 16 = (-2) x (-2) x (-2) x (-2)

            =  (-2)4                    

หรือ 16 = (-4) x (-4) 

            = (-4)2

ตอบ 24, 42(-2)4 และ (-4)2

เราสามารถใช้ความรู้เรื่องเลขยกกำลังเขียนแทนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ ให้อยู่ในรูปที่ง่ายต่อการเข้าใจ และลดความผิดพลาดในการสื่อสาร




วีดีโอที่ยูทูป




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7


สรุป คณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 บทที่ 2 การสร้างทางเรขาคณิต

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

1. วงเวียน

2. ไม้บรรทัด

3. ปากกาสีต่างๆ และยางลบปากกา

4. ดินสอและยางลบดินสอ

5. กระดาษ


การสร้างต่างๆ ทางเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมุมขนาดต่างๆ , การสร้างเส้นขนาน, การสร้างรูปสามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม, หกเหลี่ยม หรือแปดหลี่ยม และการสร้างอื่นๆ ในทางเรขาคณิต อาศัยความรู้ในการสร้างพิ้นฐานทางเรขาคณิตดังต่อไปนี้

1. การสร้างส่วนของเส้นตรงให้ยาวเท่ากับความยาวของส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้

2. การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้

3. การสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่กำหนดให้

4. การแบ่งครึ่งมุมที่กำหนดให้

5. การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรงที่กำหนดให้

6. การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งที่อยู่บนเส้นตรงที่กำหนดให้


การสร้างมุมที่มีขนาดต่าง ๆ เช่น 15°, 22.5°, 30°, 45°, 60°, 75°, 90°, 105° และ 120° สามารถอาศัยแนวคิดต่อไปนี้ได้

1. การสร้างมุมฉาก (มุมขนาด 90°) และการสร้างมุมขนาด 60° 

2. การแบ่งครึ่งมุม หรือการสร้างมุมให้มีขนาดเป็นสองเท่าของขนาดของมุมใดมุมหนึ่ง

3. การประกอบกันหรือหักออกจากกันของมุม


การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต สามารถนำไปสร้างรูปเรขาคณิตต่าง ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือการเรียนในระดับสูงต่อไปได้


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 2.3 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 2.3 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7