ค่าประจำหลักของทศนิยม ความหมายและค่าของจำนวนที่อยู่ในรูปทศนิยม

 


ทศนิยมและเศษส่วน

1. การเปรียบเทียบทศนิยม ทำได้โดยเปรียบเทียบจำนวนหน้าจุดทศนิยมเช่นเดียวกับการเปรียบเทียบจำนวนนับ ถ้าจำนวนหน้าจุดทศนิยมเท่ากัน จึงเปรียบเทียบจำนวนหลังจุดทศนิยมตั้งแต่ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเป็นต้นไป 

เช่น     7.315 มากกว่า 7.128


2. การบวกหรือการลบทศนิยม ทำได้โดยนำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาบวกกันหรือลบกัน 

เช่น     2.501 + 4.205 = 8.706

           14.789 - 11.273 = 3.516


3. การคูณทศนิยม เพื่อความสะดวกทำได้โดยละจุดทศนิยม แล้วนำมาคูณกันเช่นเดียวกับการคูณจำนวนนับ ผลคูณที่ได้จะมีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมเท่ากับผลบวกของจำนวนตำแหน่งของทศนิยมที่นำมาคูณกัน

เช่น    3.24 x 4.37 = 14.1588


4. การหารทศนิยม ทำได้โดยทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับก่อน แล้วจึงหาผลหาร

เช่น    9.21 ÷ 0.03 = 921 ÷ 3 = 307


5. การเปรียบเทียบเศษส่วน ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อน แล้วจึงเปรียบเทียบโดยพิจารณาตัวเศษ เศษส่วนใดที่ตัวเศษมากกว่าเศษส่วนนั้นจะมากกว่า

เช่น    





6. การบวกเศษส่วนและการลบเศษส่วน ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อน โดยอาจทำให้ตัวส่วนของแต่ละจำนวนเท่ากับ ค.ร.น. ของตัวส่วนทั้งหมด แล้วจึงหาผลบวกหรือผลลบ 

เช่น    





7. การคูณเศษส่วน ทำได้โดยนำตัวเศษคูณกับตัวเศษ และตัวส่วนคูณกับตัวส่วน หรือถ้าตัวเศษและตัวส่วนมีตัวหารร่วมควรนำตัวหารร่วมมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนก่อน แล้วจึงหาผลคูณ

เช่น   






8. การหารเศษส่วน ทำได้โดยการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งด้วยส่วนกลับของตัวหาร

เช่น








Youtube link



อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-616-362-779-7



สรุป คณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 บทที่ 3 เลขยกกำลัง

1. เลขยกกำลัง 

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

เลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน (base) และ n เป็นเลขชี้กำลัง (exponent หรือ index)

เขียนแทนด้วย an  มีความหมายดังนี้ 

        an  = a x a x a x a x ...x a

                 ( a จำนวน n ตัว)                

อ่านว่า " a  ยกกำลัง n " หรือ "a กำลัง n" หรือ "กำลัง n ของ a"


2. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มศูนย์

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0
                            a0  = 1

3. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบ

เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ n เป็นจำนวนเต็มบวก 
                           a-n  = 1 / an

4. สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง

ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่คูณกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลคูณที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเป็นผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวตั้งกับเลขชี้กำลังของตัวคูณ


เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

                            am x a = am + n


เช่น         82 x 8 = 82 + 7 =   89


5. สมบัติของการหารเลขยกกำลัง

ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่หารกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลหารที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเท่ากับเลขชี้กำลังของตัวตั้งลบด้วยเลขชี้กำลังของตัวหาร


เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก 

                            am ÷ a = am - n


เช่น         76 ÷  7 = 76 - 3 = 73


6. ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว

เช่น ตัวประกอบทั้งหมดของ 14 คือ 1, 2, 7 และ 14

       ตัวประกอบทั้งหมดของ 15 คือ 1, 3, 5 และ 15


7. จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เช่น  2, 3, 5, 7, 11 และ 13

แต่ 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบ เพียงตัวเดียว เท่านั้น คือ 1 นั่นเอง


8. ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ

เช่น     2 และ 7 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ  14

            3 และ 5 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ  15


9. การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ คือ การเขียนแสดงจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ 

เช่น      10 = 2 x 5

            100 = 2 x 2 x 5 x 5


10. สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation) เป็นการเขียนจำนวนในรูปการคูณที่มีเลขยกกำลังซึ่งมีฐานเป็นสิบและมีเลขยกกำลังเป็นจำนวนเต็ม โดยมีรูปทั่วไปเป็น A x 10n  เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำนวนเต็ม

เช่น 

ดวงอาทิตย์มีปริมาตรประมาณ 1.4 x 1018 ลูกบาศก์กิโลเมตร 

โลกมีมวลประมาณ 6 x 1024 กิโลกรัม




Youtube channel link




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.3 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.3 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7





ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.3 ก หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.3 ก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7




ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.2 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

 เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 3.2 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7









สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation)

สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นการเขียนจำนวนในรูปการคูณที่มีเลขยกกำลังซึ่งมีฐานเป็นสิบและมีเลขยกกำลังเป็นจำนวนเต็ม โดยมีรูปทั่วไปเป็น A x 10n  เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำนวนเต็ม


เช่น 

ดวงอาทิตย์มีปริมาตรประมาณ 1.4 x 1018 ลูกบาศก์กิโลเมตร 


โลกมีมวลประมาณ 6 x 1024 กิโลกรัม



Youtube VDO link





อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

จำนวนเฉพาะ

 คือ จำนวนที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง


เช่น  2, 3, 5, 7, 11 และ 13


แต่ 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบ เพียงตัวเดียว เท่านั้น คือ 1 นั่นเอง






วีดีโอที่ช่องยูทูป




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ คือ การเขียนแสดงจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ 


เช่น 20 = 2 x 2 x 5


30 = 2 x 3 x 5






วีดีโอที่ช่องยูทูป




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวประกอบเฉพาะ

 ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ เรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ 


เช่น     2 และ 5 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ 10


            3 และ 5 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ 15






วีดีโอที่ช่องยูทูป









อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 



ตัวประกอบของจำนวนนับ


ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว


เช่น ตัวประกอบทั้งหมดของ 8 คือ 1, 2, 4 และ 8


        ตัวประกอบทั้งหมดของ 9 คือ 1, 3 และ 9





วีดีโอที่ช่องยูทูป




อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร