ทศนิยมและเศษส่วน

1. การเปรียบเทียบทศนิยม ทำได้โดยเปรียบเทียบจำนวนหน้าจุดทศนิยมเช่นเดียวกับการเปรียบเทียบจำนวนนับ ถ้าจำนวนหน้าจุดทศนิยมเท่ากัน จึงเปรียบเทียบจำนวนหลังจุดทศนิยมตั้งแต่ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเป็นต้นไป 

เช่น     7.315 มากกว่า 7.128


2. การบวกหรือการลบทศนิยม ทำได้โดยนำจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกันมาบวกกันหรือลบกัน 

เช่น     2.501 + 4.205 = 8.706

           14.789 - 11.273 = 3.516


3. การคูณทศนิยม เพื่อความสะดวกทำได้โดยละจุดทศนิยม แล้วนำมาคูณกันเช่นเดียวกับการคูณจำนวนนับ ผลคูณที่ได้จะมีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมเท่ากับผลบวกของจำนวนตำแหน่งของทศนิยมที่นำมาคูณกัน

เช่น    3.24 x 4.37 = 14.1588


4. การหารทศนิยม ทำได้โดยทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับก่อน แล้วจึงหาผลหาร

เช่น    9.21 ÷ 0.03 = 921 ÷ 3 = 307


5. การเปรียบเทียบเศษส่วน ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อน แล้วจึงเปรียบเทียบโดยพิจารณาตัวเศษ เศษส่วนใดที่ตัวเศษมากกว่าเศษส่วนนั้นจะมากกว่า

เช่น    





6. การบวกเศษส่วนและการลบเศษส่วน ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อน โดยอาจทำให้ตัวส่วนของแต่ละจำนวนเท่ากับ ค.ร.น. ของตัวส่วนทั้งหมด แล้วจึงหาผลบวกหรือผลลบ 

เช่น    





7. การคูณเศษส่วน ทำได้โดยนำตัวเศษคูณกับตัวเศษ และตัวส่วนคูณกับตัวส่วน หรือถ้าตัวเศษและตัวส่วนมีตัวหารร่วมควรนำตัวหารร่วมมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนก่อน แล้วจึงหาผลคูณ

เช่น   






8. การหารเศษส่วน ทำได้โดยการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งด้วยส่วนกลับของตัวหาร

เช่น








Youtube link



อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

No comments:

Post a Comment