1. เลขยกกำลัง
เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก
เลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน (base) และ n เป็นเลขชี้กำลัง (exponent หรือ index)
เขียนแทนด้วย an มีความหมายดังนี้
an = a x a x a x a x ...x a
( a จำนวน n ตัว)
อ่านว่า " a ยกกำลัง n " หรือ "a กำลัง n" หรือ "กำลัง n ของ a"
4. สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง
ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่คูณกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลคูณที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเป็นผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวตั้งกับเลขชี้กำลังของตัวคูณ
เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก
am x an = am + n
เช่น 82 x 87 = 82 + 7 = 89
5. สมบัติของการหารเลขยกกำลัง
ถ้าฐานของเลขยกกำลังที่หารกันเป็นจำนวนเดียวกัน และเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก แล้วผลหารที่ได้สามารถเขียนอยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเดิม และมีเลขชี้กำลังเท่ากับเลขชี้กำลังของตัวตั้งลบด้วยเลขชี้กำลังของตัวหาร
เมื่อ a เป็นจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 0 และ m กับ n เป็นจำนวนเต็มบวก
am ÷ an = am - n
เช่น 76 ÷ 73 = 76 - 3 = 73
6. ตัวประกอบของจำนวนนับใด คือ จำนวนนับที่หารจำนวนนับนั้นลงตัว
เช่น ตัวประกอบทั้งหมดของ 14 คือ 1, 2, 7 และ 14
ตัวประกอบทั้งหมดของ 15 คือ 1, 3, 5 และ 15
7. จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เช่น 2, 3, 5, 7, 11 และ 13
แต่ 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ เพราะ 1 มีตัวประกอบ เพียงตัวเดียว เท่านั้น คือ 1 นั่นเอง
8. ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ
เช่น 2 และ 7 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ 14
3 และ 5 เป็นตัวประกอบเฉพาะของ 15
9. การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ คือ การเขียนแสดงจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ
เช่น 10 = 2 x 5
100 = 2 x 2 x 5 x 5
10. สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation) เป็นการเขียนจำนวนในรูปการคูณที่มีเลขยกกำลังซึ่งมีฐานเป็นสิบและมีเลขยกกำลังเป็นจำนวนเต็ม โดยมีรูปทั่วไปเป็น A x 10n เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำนวนเต็ม
เช่น
ดวงอาทิตย์มีปริมาตรประมาณ 1.4 x 1018 ลูกบาศก์กิโลเมตร
โลกมีมวลประมาณ 6 x 1024 กิโลกรัม
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment