การหารทศนิยม

1. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยจำนวนนับโดยการตั้งหาร นิยมเขียนจุดทศนิยมเฉพาะของตัวตั้งและผลหาร ตำแหน่งของจุดทศนิยมของผลหารจะอยู่ตรงกับตำแหน่งของจุดทศนิยมของตัวตั้งเสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้







2. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยจำนวนนับโดยการตั้งหาร ในกรณีที่การหารมีเศษที่ยังไม่เป็นศูนย์และต้องการหารจนได้เศษเป็นศูนย์ หรือจนกว่าจะได้ผลหารที่มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมตามที่ต้องการ ให้เติมศูนย์ต่อท้ายในส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยมของตัวตั้งแล้วหารต่อไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้






3. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ให้ทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น ดังตัวอย่างต่อไปนี้














หลักเกณฑ์การหารทศนิยม 

1. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกทั้งคู่ ให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับ โดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร ซึ่งจะได้ผลหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 













2. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบทั้งคู่ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ดังตัวอย่างต่อไปนี้













3. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ​โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับ โดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้








หลักการปัดเศษทางคณิตศาสตร์

การหาผลหารให้มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมตามต้องการ จะต้องคำนวณให้ได้ผลหารเป็นทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมมากกว่าที่ต้องการ แล้วพิจารณาว่าเลขโดดในตำแหน่งที่เกินมานั้นควรตัดทิ้งหรือปัดขึ้นตามหลักการปัดเศษ ดังต่อไปนี้ 

ถ้าเลขโดดในตำแหน่งที่เกินมานั้นน้อยกว่า 5 ให้ตัดเลขโดดในตำแหน่งนั้นทิ้ง แต่ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้เพิ่มค่าของเลขโดดในตำแหน่งก่อนหน้าขึ้นอีก 1 แล้วจะได้ผลหารเป็นค่าประมาณ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ถ้าผลหารที่ได้คือ 2.345 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 2.35

2. ถ้าผลหารที่ได้คือ 7.124 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 7.12

3. ถ้าผลหารที่ได้คือ 11.795 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 11.80

















วีดีโอนี้แสดงวิธีทำทุกตัวอย่างในโพสต์นี้



ทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่สำหรับการหาร และทศนิยมไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการหาร



การคูณทศนิยม ดูได้ที่ลิงค์นี้

https://ageniusisbornnotmade.blogspot.com/2023/09/blog-post_24.html



อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.3 ก หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

 เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.3 ก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7




การคูณทศนิยม

การคูณทศนิยม เมื่อได้ผลคูณแล้วต้องใส่จุดทศนิยมให้ถูกตำแหน่ง 

นั่นคือ ถ้าตัวตั้งเป็นทศนิยมที่มี a ตำแหน่ง และตัวคูณเป็นทศนิยมที่มี b ตำแหน่ง แล้วผลคูณจะเป็นทศนิยมที่มี a + b ตำแหน่ง


                           ตัวตั้ง     x    ตัวคูณ    =    ผลคูณ

จำนวนตำแหน่งทศนิยม      a ตำแหน่ง             b ตำแหน่ง             a + b ตำแหน่ง


หลักเกณฑ์การคูณทศนิยมใดๆ 

1. การคูณทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ใช้วิธีการเดียวกับการคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ซึ่งจะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

ตัวอย่าง    จงหาผลคูณ  2.5 x 1.3

วิธีทำ         25

                        x

                  13

                  75

                25

                325

ตัวตั้งเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง จะได้ผลคูณเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งและเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

ดังนั้น 2.5 x 1.3 = 3.25

ตอบ 3.25


2. การคูณทศนิยมที่เป็นจำนวนลบด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ จะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก และมีค่าเท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

ตัวอย่าง    จงหาผลคูณ  (-4.51 ) x (-2.3)

วิธีทำ         451

                        x

                   23

               1353

               902

             10373

ตัวตั้งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง จะได้ผลคูณเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งและเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

ดังนั้น  (-4.51 ) x (-2.3) = 10.373

ตอบ 10.373


3. การคูณระหว่างทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ จะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ และมีค่าสัมบูรณ์ของผลคูณเท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

ตัวอย่าง    จงหาผลคูณ  5.24  x (-24.3) 

วิธีทำ         524

                        x

                 243

               1572

             2096

           1048

           127332

ตัวตั้งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง จะได้ผลคูณเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งและเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ

ดังนั้น  5.24  x (-24.3) = -127.332

ตอบ  -127.332



สมบัติการคูณของทศนิยม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ สมบัติการคูณด้วยศูนย์ และสมบัติการคูณด้วยหนึ่ง
1. สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ 
เมื่อมีทศนิยมคูณกัน เราสามารถสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวคูณได้ โดยที่ผลลัพธ์เท่ากัน 

                เมื่อ a และ b เป็นทศนิยมใดๆ 
                          a x b = b x a

เช่น  -3.2 x 4.1 = 4.1 x (-3.2) = -13.12

2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการคูณ
เมื่อมีทศนิยมตั้งแต่สามจำนวนขึ้นไปคูณกัน เราสามารถคูณทศนิยมคู่ใดก่อนก็ได้ โดยที่ผลลัพธ์สุดท้ายเท่ากัน

                 เมื่อ a, b และ c เป็นทศนิยมใดๆ
                        (a x b) x c = a x (b x c)

เช่น  (-2.7 x 3.2) x 2.4 = -2.7 x (3.2 x 2.4) = -20.736

3. สมบัติการคูณด้วยศูนย์ 
การคูณทศนิยมใด ๆ ด้วยศูนย์หรือการคูณศูนย์ด้วยทศนิยมใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับศูนย์เสมอ

                 เมื่อ a เป็นทศนิยมใด ๆ 
                     a x 0 = 0 = 0 x a

เช่น  -32.7 x 0 = 0 = 0 x (-32.7)

4. สมบัติการคูณด้วยหนึ่ง
การคูณทศนิยมใดๆ ด้วยหนึ่ง หรือการคูณหนึ่งด้วยทศนิยมใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับทศนิยมนั้นๆ เสมอ

                 เมื่อ a เป็นทศนิยมใด ๆ 
                      a x 1 = a = 1 x a

 เช่น  -25.3 x 1 = -25.3 = 1 x (-25.3)

====================================

สมบัติการแจกแจง เป็นสมบัติที่แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการบวกและการคูณทศนิยม

           เมื่อ a, b และ c เป็นทศนิยมใดๆ
             a x (b + c) = (a x b) + (a x c)

เช่น  (3.2 x 0.2) + (-4.3 x 0.2) = [3.2 + (-4.3)] x 0.2
                                                = -1.1 x 0.2
                                                = -0.22

====================================




การหารทศนิยม ดูได้ที่ลิงค์นี้


อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.2 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.2 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7





ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.2 ก หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.2 ก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7




การบวกและการลบทศนิยม

 การบวกทศนิยม

1. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ให้นำเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันหรือตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน โดยใช้วิธีเดียวกันกับการบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ซึ่งจะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

เช่น    จงหาผลบวก  1.23 + 7.42

วิธีทำ        1.23

                            +

                 7.42

                 8.65

ตอบ    8.65


2. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนลบด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมทั้งสองมาบวกกัน แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ

เช่น    จงหาผลบวก  -3.21 + (-5.37)

วิธีทำที่ 1      ค่าสัมบูรณ์ของ -3.21 เท่ากับ 3.21

                    ค่าสัมบูรณ์ของ -5.37 เท่ากับ 5.37

           นำค่าสัมบูรณ์ของทั้งสองจำนวนมาบวกกัน

                     3.21

                            +

                     5.37

                     8.58

แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ คือ -8.58

ดังนั้น  -3.21 + (-5.37) = -8.58

ตอบ  -8.58


วิธีทำที่ 2

                     -3.21

                            +

                     -5.37

                     -8.58

ตอบ  -8.58


วิธีทำที่ 3

        -3.21 + (-5.37) = -(3.21 + 5.37)

                                = -8.58

ตอบ  -8.58


3. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตามทศนิยมที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

ตัวอย่างที่ 1     จงหาผลบวก  3.5 + (-1.23)

วิธีทำ

                    ค่าสัมบูรณ์ของ 3.5 เท่ากับ 3.5

                    ค่าสัมบูรณ์ของ -1.23 เท่ากับ 1.23

นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า

                      3.50

                            -

                      1.23

                      2.27

เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ 3.5 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ -1.23 

ดังนั้น 3.5 + (-1.23) จะมีผลบวกเป็นจำนวนบวก

             3.5 + (-1.23) = 2.27

ตอบ  2.27


ตัวอย่างที่ 2  จงหาผลบวก  -8.56 + 2.75

วิธีทำ

                    ค่าสัมบูรณ์ของ -8.56 เท่ากับ 8.56

                    ค่าสัมบูรณ์ของ 2.75 เท่ากับ 2.75

นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า

                     8.56

                            -

                     2.75

                     5.81

เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -8.56 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ 2.75 

ดังนั้น -8.56 + 2.75 จะมีผลบวกเป็นจำนวนลบ

                     -8.56 + 2.75 = -(8.56 - 2.75)

                                         = -5.81

ตอบ  -5.81


ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวก  4.76 + (-13.29)

วิธีทำ

                    ค่าสัมบูรณ์ของ 4.76 เท่ากับ 4.76

                    ค่าสัมบูรณ์ของ -13.29 เท่ากับ 13.29

นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า

                      13.29

                              -

                        4.76

                        8.53

เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -13.29 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ 4.76 

ดังนั้น 4.76 + (-13.29) จะมีผลบวกเป็นจำนวนลบ

                        4.76 + (-13.29) = -(13.29 - 4.76)

                                                 = - 8.53

ตอบ  ​-8.53


การบวกทศนิยมมีสมบัติการบวกเช่นเดียวกับสมบัติการบวกของจำนวนเต็ม ได้แก่

1. สมบัติการสลับที่

2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่

3. สมบัติการบวกด้วยศูนย์ 


1. สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก 

    การบวกทศนิยมสองจำนวน เราสามารถสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวบวกได้ โดยที่ผลลัพธ์ยังคงเท่ากัน 

    เมื่อ a และ b เป็นทศนิยมใดๆ 

                a + b = b + a

เช่น    1.04 + (-2.57) = -2.57 + 1.04 = -1.53


2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการบวก

     อย่างเช่นการบวกทศนิยมสามจำนวน เราสามารถบวกทศนิยมคู่แรกหรือคู่หลังก่อนก็ได้ ผลลัพธ์ที่ได้เท่ากัน

    เมื่อ a, b และ c เป็นทศนิยมใดๆ 

          (a + b) + c = a + (b + c)

เช่น  [7.46 + (-2.35)] + (-3.27) = 5.11 + (-3.27)

                                                 = 1.84

และ  7.46 + [(-2.35) + (-3.27)] = 7.46 + (-5.62)

                                                  = 1.84

ดังนั้น [7.46 + (-2.35)] + (-3.27) = 7.46 + [(-2.35) + (-3.27)] = 1.84


3. สมบัติการบวกด้วยศูนย์ 

    การบวกทศนิยมใดๆ ด้วยศูนย์หรือการบวกศูนย์ด้วยทศนิยมใดๆ จะได้ผลบวกเท่ากับทศนิยมนั้นๆ เสมอ 

    เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ

        a + 0 = a

        0 + a = a

เช่น     4.78 + 0 = 4.78

           0 + 4.78 = 4.78

           5.49 + 0 = 5.49

           0 + 5.49 = 5.49


การลบทศนิยม

1.  เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ a มีเพียงจำนวนเดียว เขียนแทนด้วย -a 

และ a + (-a) = 0 = (-a) + a

เช่น


เมื่อพิจารณาบนเส้นจำนวนจะพบว่า ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกและทศนิยมที่เป็นจำนวนลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน จะอยู่คนละข้างของ 0 และอยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะเท่ากัน เช่น -1.5 และ 1.5
    กล่าวได้ว่า
                    -1.5 เป็นจำนวนตรงข้ามของ 1.5
                     1.5 เป็นจำนวนตรงข้ามของ -1.5
        และ -1.5 + 1.5 = 1.5 + (-1.5) = 0


2. เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ -a คือ a 

นั่นคือ -(-a) = a 

เช่น    3.5 เป็นทศนิยม

          จำนวนตรงข้ามของ -3.5 เขียนแทนด้วย -(-3.5)

          จำนวนตรงข้ามของ -3.5 คือ 3.5

          ดังนั้น -(-3.5) = 3.5


3. การหาผลลบของทศนิยมใดๆ ใช้หลักการเดียวกับการหาผลลบของจำนวนเต็ม นั่นคือ

  ตัวตั้ง - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ 

  นั่นคือ เมื่อ a และ b  เป็นทศนิยมใดๆ

    a - b = a + (-b)


เช่น   3.56 - 2.37 = 3.56 + (-2.37)

                           = 1.19


        -9.48 -(-3.82) = -9.48 + (3.82)

                               = -5.66



ทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่สำหรับการลบ และทศนิยมไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการลบ

อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร 

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.1 ข หนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 พ.ศ. 2560 (หลักสูตร 2551)

 เฉลยแบบฝึกหัด ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัด 4.1 ข

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 (ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

ISBN 978-616-362-779-7




ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยม และการเปรียบเทียบทศนิยม

 1. ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมใดๆ หาได้จากระยะที่ทศนิยมนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน

เช่น


0.8 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 0.8 หน่วย ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์ของ 0.8 เท่ากับ 0.8 

-0.8 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 0.8 หน่วย ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์ของ -0.8 เท่ากับ 0.8 


ตัวอย่างเพิ่มเติม

ค่าสัมบูรณ์ของ 1.2 เท่ากับ 1.2 เนื่องจาก 1.2 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 1.2 หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ของ -1.2 เท่ากับ 1.2 เนื่องจาก -1.2 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 1.2 หน่วย


ค่าสัมบูรณ์ของ 101.4 เท่ากับ 101.4 เนื่องจาก 101.4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 101.4 หน่วย

ค่าสัมบูรณ์ของ -101.4 เท่ากับ 101.4 เนื่องจาก -101.4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 101.4 หน่วย




2.การเปรียบเทียบทศนิยม 

    2.1 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกสองจำนวนใดๆ 
เนื่องจากทศนิยมประกอบด้วยส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม และส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม จึงให้เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็มก่อน 

ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มไม่เท่ากัน สรุปได้ว่า ทศนิยมที่มีส่วนที่เป็นจำนวนเต็มมากกว่า จะเป็นทศนิยมที่มากกว่า 
เช่น  7.923 มากกว่า 3.201 เนื่องจาก 7 มากกว่า 3


ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มเท่ากัน ให้เปรียบเทียบส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม เริ่มตั้งแต่ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเป็นต้นไป โดยพิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน ทศนิยมที่มีเลขโดดในตำแหน่งนั้นมากกว่า จะเป็นทศนิยมที่มากกว่า เช่น เปรียบเทียบ 4.2467 กับ 4.2457



เนื่องจาก 6 และ 5 เป็นเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน และ  6 มากกว่า 5 ดังนั้น 
4.2467 มากกว่า 4.2457


    2.2 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนลบสองจำนวนใดๆ 

ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน โดยทศนิยมที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่าจะเป็นทศนิยมที่มากกว่า 
เช่น

ต้องการเปรียบเทียบ -7.254 กับ -4.375
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -7.254 เท่ากับ 7.254
ค่าสัมบูรณ์ของ -4.375 เท่ากับ 4.375
และ 7.254 มากกว่า 4.375 
ดังนั้น -7.254 น้อยกว่า -4.375


ต้องการเปรียบเทียบ -3.127 กับ -4.268
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -3.127 เท่ากับ 3.127
ค่าสัมบูรณ์ของ -4.268 เท่ากับ 4.268
และ 3.127 น้อยกว่า 4.268
ดังนั้น -3.127 มากกว่า -4.268


    2.3 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกและทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ
เนื่องจากบนเส้นจำนวน ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกอยู่ทางขวาของ 0 และทศนิยมที่เป็นจำนวนลบอยู่ทางซ้ายของ 0 
ดังนั้น ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกย่อมมีค่ามากกว่าทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ 
เช่น 0.012 มากกว่า -9.976






อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร