1. ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมใดๆ หาได้จากระยะที่ทศนิยมนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน
เช่น
0.8 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 0.8 หน่วย ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์ของ 0.8 เท่ากับ 0.8
-0.8 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 0.8 หน่วย ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์ของ -0.8 เท่ากับ 0.8
ตัวอย่างเพิ่มเติม
ค่าสัมบูรณ์ของ 1.2 เท่ากับ 1.2 เนื่องจาก 1.2 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 1.2 หน่วย
ค่าสัมบูรณ์ของ -1.2 เท่ากับ 1.2 เนื่องจาก -1.2 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 1.2 หน่วย
ค่าสัมบูรณ์ของ 101.4 เท่ากับ 101.4 เนื่องจาก 101.4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 101.4 หน่วย
ค่าสัมบูรณ์ของ -101.4 เท่ากับ 101.4 เนื่องจาก -101.4 อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะ 101.4 หน่วย
2.การเปรียบเทียบทศนิยม
2.1 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกสองจำนวนใดๆ
เนื่องจากทศนิยมประกอบด้วยส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม และส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม จึงให้เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็มก่อน
ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มไม่เท่ากัน สรุปได้ว่า ทศนิยมที่มีส่วนที่เป็นจำนวนเต็มมากกว่า จะเป็นทศนิยมที่มากกว่า
เช่น 7.923 มากกว่า 3.201 เนื่องจาก 7 มากกว่า 3
ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มเท่ากัน ให้เปรียบเทียบส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม เริ่มตั้งแต่ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเป็นต้นไป โดยพิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน ทศนิยมที่มีเลขโดดในตำแหน่งนั้นมากกว่า จะเป็นทศนิยมที่มากกว่า เช่น เปรียบเทียบ 4.2467 กับ 4.2457
2.2 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนลบสองจำนวนใดๆ
ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน โดยทศนิยมที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่าจะเป็นทศนิยมที่มากกว่า
เช่น
ต้องการเปรียบเทียบ -7.254 กับ -4.375
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -7.254 เท่ากับ 7.254
ค่าสัมบูรณ์ของ -4.375 เท่ากับ 4.375
และ 7.254 มากกว่า 4.375
ดังนั้น -7.254 น้อยกว่า -4.375
ต้องการเปรียบเทียบ -3.127 กับ -4.268
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -3.127 เท่ากับ 3.127
ค่าสัมบูรณ์ของ -4.268 เท่ากับ 4.268
และ 3.127 น้อยกว่า 4.268
ดังนั้น -3.127 มากกว่า -4.268
2.3 การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกและทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ
เนื่องจากบนเส้นจำนวน ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกอยู่ทางขวาของ 0 และทศนิยมที่เป็นจำนวนลบอยู่ทางซ้ายของ 0
ดังนั้น ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกย่อมมีค่ามากกว่าทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ
เช่น 0.012 มากกว่า -9.976
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment