การบวกทศนิยม
1. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ให้นำเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันหรือตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน โดยใช้วิธีเดียวกันกับการบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ซึ่งจะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก
เช่น จงหาผลบวก 1.23 + 7.42
วิธีทำ 1.23
+
7.42
8.65
ตอบ 8.65
2. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนลบด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมทั้งสองมาบวกกัน แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ
เช่น จงหาผลบวก -3.21 + (-5.37)
วิธีทำที่ 1 ค่าสัมบูรณ์ของ -3.21 เท่ากับ 3.21
ค่าสัมบูรณ์ของ -5.37 เท่ากับ 5.37
นำค่าสัมบูรณ์ของทั้งสองจำนวนมาบวกกัน
3.21
+
5.37
8.58
แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ คือ -8.58
ดังนั้น -3.21 + (-5.37) = -8.58
ตอบ -8.58
วิธีทำที่ 2
-3.21
+
-5.37
-8.58
ตอบ -8.58
วิธีทำที่ 3
-3.21 + (-5.37) = -(3.21 + 5.37)
= -8.58
ตอบ -8.58
3. การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตามทศนิยมที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวก 3.5 + (-1.23)
วิธีทำ
ค่าสัมบูรณ์ของ 3.5 เท่ากับ 3.5
ค่าสัมบูรณ์ของ -1.23 เท่ากับ 1.23
นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
3.50
-
1.23
2.27
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ 3.5 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ -1.23
ดังนั้น 3.5 + (-1.23) จะมีผลบวกเป็นจำนวนบวก
3.5 + (-1.23) = 2.27
ตอบ 2.27
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวก -8.56 + 2.75
วิธีทำ
ค่าสัมบูรณ์ของ -8.56 เท่ากับ 8.56
ค่าสัมบูรณ์ของ 2.75 เท่ากับ 2.75
นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
8.56
-
2.75
5.81
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -8.56 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ 2.75
ดังนั้น -8.56 + 2.75 จะมีผลบวกเป็นจำนวนลบ
-8.56 + 2.75 = -(8.56 - 2.75)
= -5.81
ตอบ -5.81
ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลบวก 4.76 + (-13.29)
วิธีทำ
ค่าสัมบูรณ์ของ 4.76 เท่ากับ 4.76
ค่าสัมบูรณ์ของ -13.29 เท่ากับ 13.29
นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
13.29
-
4.76
8.53
เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -13.29 มากกว่าค่าสัมบูรณ์ของ 4.76
ดังนั้น 4.76 + (-13.29) จะมีผลบวกเป็นจำนวนลบ
4.76 + (-13.29) = -(13.29 - 4.76)
= - 8.53
ตอบ -8.53
การบวกทศนิยมมีสมบัติการบวกเช่นเดียวกับสมบัติการบวกของจำนวนเต็ม ได้แก่
1. สมบัติการสลับที่
2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่
3. สมบัติการบวกด้วยศูนย์
1. สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก
การบวกทศนิยมสองจำนวน เราสามารถสลับที่ระหว่างตัวตั้งและตัวบวกได้ โดยที่ผลลัพธ์ยังคงเท่ากัน
เมื่อ a และ b เป็นทศนิยมใดๆ
a + b = b + a
เช่น 1.04 + (-2.57) = -2.57 + 1.04 = -1.53
2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการบวก
อย่างเช่นการบวกทศนิยมสามจำนวน เราสามารถบวกทศนิยมคู่แรกหรือคู่หลังก่อนก็ได้ ผลลัพธ์ที่ได้เท่ากัน
เมื่อ a, b และ c เป็นทศนิยมใดๆ
(a + b) + c = a + (b + c)
เช่น [7.46 + (-2.35)] + (-3.27) = 5.11 + (-3.27)
= 1.84
และ 7.46 + [(-2.35) + (-3.27)] = 7.46 + (-5.62)
= 1.84
ดังนั้น [7.46 + (-2.35)] + (-3.27) = 7.46 + [(-2.35) + (-3.27)] = 1.84
3. สมบัติการบวกด้วยศูนย์
การบวกทศนิยมใดๆ ด้วยศูนย์หรือการบวกศูนย์ด้วยทศนิยมใดๆ จะได้ผลบวกเท่ากับทศนิยมนั้นๆ เสมอ
เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ
a + 0 = a
0 + a = a
เช่น 4.78 + 0 = 4.78
0 + 4.78 = 4.78
5.49 + 0 = 5.49
0 + 5.49 = 5.49
การลบทศนิยม
1. เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ a มีเพียงจำนวนเดียว เขียนแทนด้วย -a
และ a + (-a) = 0 = (-a) + a
เช่น
2. เมื่อ a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ -a คือ a
นั่นคือ -(-a) = a
เช่น 3.5 เป็นทศนิยม
จำนวนตรงข้ามของ -3.5 เขียนแทนด้วย -(-3.5)
จำนวนตรงข้ามของ -3.5 คือ 3.5
ดังนั้น -(-3.5) = 3.5
3. การหาผลลบของทศนิยมใดๆ ใช้หลักการเดียวกับการหาผลลบของจำนวนเต็ม นั่นคือ
ตัวตั้ง - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ
นั่นคือ เมื่อ a และ b เป็นทศนิยมใดๆ
a - b = a + (-b)
เช่น 3.56 - 2.37 = 3.56 + (-2.37)
= 1.19
-9.48 -(-3.82) = -9.48 + (3.82)
= -5.66
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment