1. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยจำนวนนับโดยการตั้งหาร นิยมเขียนจุดทศนิยมเฉพาะของตัวตั้งและผลหาร ตำแหน่งของจุดทศนิยมของผลหารจะอยู่ตรงกับตำแหน่งของจุดทศนิยมของตัวตั้งเสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยจำนวนนับโดยการตั้งหาร ในกรณีที่การหารมีเศษที่ยังไม่เป็นศูนย์และต้องการหารจนได้เศษเป็นศูนย์ หรือจนกว่าจะได้ผลหารที่มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมตามที่ต้องการ ให้เติมศูนย์ต่อท้ายในส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยมของตัวตั้งแล้วหารต่อไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
3. การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ให้ทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การหารทศนิยม
1. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกทั้งคู่ ให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับ โดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร ซึ่งจะได้ผลหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2. ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบทั้งคู่ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
3. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งหารด้วยค่าสัมบูรณ์ของตัวหาร แล้วทำตัวหารให้เป็นจำนวนนับ โดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือ... มาคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น แล้วหาผลหาร แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
หลักการปัดเศษทางคณิตศาสตร์
การหาผลหารให้มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมตามต้องการ จะต้องคำนวณให้ได้ผลหารเป็นทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยมมากกว่าที่ต้องการ แล้วพิจารณาว่าเลขโดดในตำแหน่งที่เกินมานั้นควรตัดทิ้งหรือปัดขึ้นตามหลักการปัดเศษ ดังต่อไปนี้
ถ้าเลขโดดในตำแหน่งที่เกินมานั้นน้อยกว่า 5 ให้ตัดเลขโดดในตำแหน่งนั้นทิ้ง แต่ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้เพิ่มค่าของเลขโดดในตำแหน่งก่อนหน้าขึ้นอีก 1 แล้วจะได้ผลหารเป็นค่าประมาณ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ถ้าผลหารที่ได้คือ 2.345 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 2.35
2. ถ้าผลหารที่ได้คือ 7.124 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 7.12
3. ถ้าผลหารที่ได้คือ 11.795 และต้องการเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง จะได้เป็น 11.80
วีดีโอนี้แสดงวิธีทำทุกตัวอย่างในโพสต์นี้
ทศนิยมไม่มีสมบัติการสลับที่สำหรับการหาร และทศนิยมไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการหาร
การคูณทศนิยม ดูได้ที่ลิงค์นี้
https://ageniusisbornnotmade.blogspot.com/2023/09/blog-post_24.html
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. 7. กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment